ตัวอย่างกลยุทธ์การกู้คืนระบบ..เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
ในกระบวนการบริหารความความต่อเนื่องทางธุรกิจ
แผนการกู้คืนระบบในระหว่างช่วงเวลาวิกฤตินั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เพราะมีส่วนชี้เป็นชี้ตายต่อความสำเร็จในการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อรักษาการให้บริการต่อลูกค้า รวมถึงตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรทุกฝ่าย
การกำหนดกลยุทธ์การกู้คืนระบบอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยในบทความนี้ ทีมงาน DestinationOne
ได้รวบรวมตัวอย่างกลยุทธ์พื้นฐานที่เป็นประโยชน์มาให้ทุกท่านได้พิจารณานำไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กรดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง "กลยุทธ์ในการกู้คืนระบบ"
เพื่อรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
- สำรองเต็มรูปแบบ : จัดให้มีระบบสำรองทุกด้านอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับบริการและสินค้าทั้งหมดขององค์กร ซึ่งมีความพร้อมในการให้บริการอย่างต่อเนื่องทันที หรือเพียงไม่กี่นาทีหลังเกิดเหตุ
- สำรองครึ่งหนึ่ง : จัดให้มีระบบสำรองสำหรับบริการและสินค้าที่สำคัญขององค์กร ที่พร้อมให้บริการอย่างต่อเนื่องภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ
- สำรองบางส่วน : จัดให้มีระบบสำรองบ้างบางส่วนสำหรับบริการและสินค้าขององค์กร ที่พร้อมให้บริการอย่างต่อเนื่องภายในไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ
- สัญญาใช้งานร่วมหรือสัญญาแลกเปลี่ยน : เป็นลักษณะการทำสัญญากับบริษัทพันธมิตรหรือบริษัทคู่ค้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็นใด
- จัดหาทางเลือกสำรอง : จัดหาหรือจัดให้มีทางเลือกสำรองเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม
- ซื้อประกัน : จัดซื้อจัดหาความคุ้มครองจากบริษัทประกันต่างๆ เพื่อร่วมรับผิดชอบความเสียหายในกรณีที่เกิดความเสียหายจากเหตุวิกฤติหรือเหตุฉุกเฉิน
- จัดจ้างผู้ให้บริการภายนอก : จัดหาผู้ให้บริการภายนอกเข้ามารับผิดชอบกิจกรรมในการกู้คืนระบบและสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจ
ในการคัดเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์การกู้คืนระบบนั้น
องค์กรจะต้องเริ่มจากการรู้จักธุรกิจของตนเองและเข้าใจบริบทอย่างถ่องแท้ เพื่อให้กลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมานั้นสอดคล้องและเหมาะสมกับองค์กรอย่างแท้จริง
รวมถึงจะต้องหมั่นทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดของแผนงานและกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ
อันจะช่วยความสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
Content Cr: DestinationOne Counselor
Photo Cr: Business2Community.com
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.