Tuesday, July 28, 2015

ตัวอย่าง "กลยุทธ์ในการกู้คืนระบบ" เพื่อรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ



ตัวอย่างกลยุทธ์การกู้คืนระบบ..เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

ในกระบวนการบริหารความความต่อเนื่องทางธุรกิจ แผนการกู้คืนระบบในระหว่างช่วงเวลาวิกฤตินั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีส่วนชี้เป็นชี้ตายต่อความสำเร็จในการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

เพื่อรักษาการให้บริการต่อลูกค้า รวมถึงตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรทุกฝ่าย การกำหนดกลยุทธ์การกู้คืนระบบอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยในบทความนี้ ทีมงาน DestinationOne ได้รวบรวมตัวอย่างกลยุทธ์พื้นฐานที่เป็นประโยชน์มาให้ทุกท่านได้พิจารณานำไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กรดังต่อไปนี้



ตัวอย่าง "กลยุทธ์ในการกู้คืนระบบ" เพื่อรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

  • สำรองเต็มรูปแบบ : จัดให้มีระบบสำรองทุกด้านอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับบริการและสินค้าทั้งหมดขององค์กร ซึ่งมีความพร้อมในการให้บริการอย่างต่อเนื่องทันที หรือเพียงไม่กี่นาทีหลังเกิดเหตุ
  • สำรองครึ่งหนึ่ง : จัดให้มีระบบสำรองสำหรับบริการและสินค้าที่สำคัญขององค์กร ที่พร้อมให้บริการอย่างต่อเนื่องภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ
  • สำรองบางส่วน : จัดให้มีระบบสำรองบ้างบางส่วนสำหรับบริการและสินค้าขององค์กร ที่พร้อมให้บริการอย่างต่อเนื่องภายในไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ
  • สัญญาใช้งานร่วมหรือสัญญาแลกเปลี่ยน :  เป็นลักษณะการทำสัญญากับบริษัทพันธมิตรหรือบริษัทคู่ค้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็นใด
  • จัดหาทางเลือกสำรอง : จัดหาหรือจัดให้มีทางเลือกสำรองเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม
  • ซื้อประกัน : จัดซื้อจัดหาความคุ้มครองจากบริษัทประกันต่างๆ เพื่อร่วมรับผิดชอบความเสียหายในกรณีที่เกิดความเสียหายจากเหตุวิกฤติหรือเหตุฉุกเฉิน
  • จัดจ้างผู้ให้บริการภายนอก : จัดหาผู้ให้บริการภายนอกเข้ามารับผิดชอบกิจกรรมในการกู้คืนระบบและสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจ

ในการคัดเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์การกู้คืนระบบนั้น องค์กรจะต้องเริ่มจากการรู้จักธุรกิจของตนเองและเข้าใจบริบทอย่างถ่องแท้ เพื่อให้กลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมานั้นสอดคล้องและเหมาะสมกับองค์กรอย่างแท้จริง รวมถึงจะต้องหมั่นทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดของแผนงานและกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ อันจะช่วยความสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน




Content Cr: DestinationOne Counselor
Photo Cr: Business2Community.com

Wednesday, July 22, 2015

9 คำแนะนำ..ถ้าต้องพกงานไปพักร้อน



9 คำแนะนำ..ถ้าต้องพกงานไปพักร้อน

ทำงานมาเหนื่อย แน่นอนว่าย่อมต้องอยากพักร้อนให้หย่อนใจกันบ้าง.. แต่โลกการแข่งขันทางธุรกิจและความทันสมัยของเทคโนโลยียุคนี้ ก็ทำให้บางครั้งคุณต้องหอบหิ้วเอางานติดตัวไปเดินขึ้นเขาหรือนอนริมชายหาดด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือแท็บเล็ตออกไปใช้งานนอกสถานที่นั้น มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะเจอการโจรกรรมข้อมูล สูญหาย หรือเกิดความเสียหายขึ้น

เพื่อให้วันพักผ่อนของคุณไม่ถูกทำลายโดยความเสี่ยงเหล่านั้น ทีมงาน DestinationOne จึงนำคำแนะนำดีๆ มาฝากดังนี้..



  1. อย่าโพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดียให้คนทั้งโลกรู้ว่า ตอนนี้คุณกำลังสนุกกับวันพักร้อนอยู่ที่ไหน รวมถึงปิดใช้งานระบบ GPS เพื่อป้องกันการถูกแอบติดตามด้วย
  2. Back up ข้อมูลสำคัญทุกอย่าง โดยสำรองข้อมูลสำคัญเก็บไว้ที่บ้านหรือสำนักงาน โดยจะต้องเข้ารหัสเพื่อปกป้องไฟล์เหล่านั้นอย่างแน่นหนาอีกด้วย
  3. ปกป้องตัวคุณเอง โดยการลงโปรแกรม Anti-Virus, Anti-Theft และโปรแกรมตรวจสอบอื่นๆ รวมถึงใช้มาตรการป้องกันความปลอดภัยอย่างรอบคอบเสมอ
  4. อย่าเชื่อมต่อเครือข่ายสาธารณะ หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อไวไฟสาธารณะ เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเครือข่ายเหล่านั้นมีภัยร้ายใดแฝงตัวอยู่หรือไม่ หากจำเป็นต้องใช้งานจริงๆ จะต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเครือข่ายก่อนทุกครั้ง
  5. อย่าอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์ เพียงเสี้ยววินาทีที่คุณเผลอละสายตาไปจากเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือแท็บเล็ต อาจจะเป็นจังหวะที่หัวขโมยแอบฉกมันไปจากคุณอย่างรวดเร็วก็ได้
  6. เปลี่ยนรหัสผ่านทันที เมื่อคุณมีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือมีการเชื่อมต่อเครือข่ายสาธารณะ
  7. อย่าหลงเชื่อคนง่าย คุณจะต้องมีสติและใช้ความรอบคอบหากมีบุคคลเข้ามาพูดคุยทำความรู้จัก หรือพยายามจะเสนอสินค้า บริการ หรือความช่วยเหลือใดๆ ให้
  8. ลงแอพพลิเคชั่น Deactivate บนเครื่องสมาร๋ทโฟน เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน หากโชคร้ายสมาร์ทโฟนเกิดสูญหายหรือถูกขโมย คุณจะได้สามารถสั่ง Deactivate เครื่องของคุณได้ทันทีก่อนที่คนอื่นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่อง
  9. ระมัดระวังการใช้งานอุปกรณ์ประเภท USBs ถ้าหากคุณจำเป็นต้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลผ่าน USBs คุณจะต้องทำการสแกนไวรัสก่อนทุกครั้ง และจะต้องตรวจสอบให้ดีว่าไม่มีเหตุผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นภายหลังจากการเชื่อมต่อ

เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำง่ายๆ 9 ข้อด้านบน ก็จะช่วยปกป้องวันพักผ่อนของคุณจากการเกิดหายนะได้ ที่สำคัญก็คือ.. อย่าลืมเตรียมพร้อม มีสติ และรอบคอบอยู่เสมอนะครับ




Content Cr: DestinationOne Counselor
Photo Cr: WomanDays.com

Wednesday, July 15, 2015

สิ่งที่ต้องรู้..ก่อนลงมือวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)



สิ่งที่ต้องรู้..ก่อนลงมือวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)


ใน กระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องรู้ลึกและเข้าใจในองค์กรของตนเองเป็นอย่างดีเสียก่อน ว่าตัวตนขององค์กรเป็นเช่นไร มีบริบทอย่างไร เพื่อให้การกำหนดรายละเอียดของแผนงานต่างๆ มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ทางธุรกิจ และสามารถสนองต่อความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้


ดังนั้น เพื่อความสำเร็จในการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ คุณจะต้อง “รู้จริง” เกี่ยวกับองค์กรในหัวข้อต่างๆ ดังนี้



  1. อะไรคือสินค้า/บริการขององค์กร องค์กรจะต้องเข้าใจว่าสินค้าและบริการที่นำเสนอต่อลูกค้านั้นมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีธรรมชาติอย่างไร มีกระบวนการผลิตอย่างไร
  2. อะไรคือสินค้า/บริการที่มีความสำคัญมากที่สุด คุณจะต้องจัดลำดับของบรรดาสินค้า/บริการต่างๆ ที่คุณมีอยู่ ว่าสิ่งใดมีความสำคัญเร่งด่วนที่ต้องได้รับการจัดการเป็นอย่างแรกหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
  3. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสินค้า/บริการมีอะไรบ้าง องค์กรต้องเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการนั้นๆ
  4. กระบวนการอะไรบ้างที่สำคัญ ในบรรดากระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด กระบวนการใดมีความจำเป็นมากที่สุด และจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้สามารถวางแผนสำรองหรือกู้คืนได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม
  5. ทรัพยากรใดบ้างที่มีความจำเป็นต้องใช้ คุณต้องสำรวจว่าในกระบวนการต่างๆ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง ต้องมีมากน้อยเท่าใดจึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน สิ่งใดที่ไม่สามารถขาดได้ หรือสิ่งใดที่ยังสามารถรอได้หรือสามารถหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้
  6. ความเสี่ยงขององค์กรมีอะไรบ้าง ความเสี่ยงเป็นเรื่องใหญ่ที่องค์กรจะต้องรู้และบริหารจัดการให้ได้ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถแก้ไขความเสี่ยงได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยต้องทำให้ระดับของความเสี่ยงลดลงมาอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้

ยิ่งผู้บริหาร/ทีมงาน ทำความเข้าใจองค์กรได้ลึกซึ้งมากเท่าใด ก็จะยิ่งช่วยให้แผนการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงต้องศึกษาปัจจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบกับองค์กรทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้แผนการมีความครอบคลุมสมบูรณ์ที่สุด และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน




Content Cr: DestinationOne Counselor
Photo Cr: PitchPerfectClub